วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์แบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 3 วันที่ 26  มกราคม 2558
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

สิ่งที่เรียนในวันนี้

วันนี้อาจารย์ให้วาดรูปดอกบัวก่อนให้วาดยังไงก็ได้ให้เหมือนกับในรูป





ภาพที่หนูวาด






และวันนี้อาจารย์ก็สอนเรื่อง
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย

- การวินิจฉัยหมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
- จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก

- เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
- ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
-เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็ฏมีบางอย่างผิดปกติ

- พ่อแม่ของเด็กพิเศษมักทราบดีว่าลูกของเค้ามีปัญหา
- พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เค้ารับรู้อยู่แล้ว
- ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
- ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
-ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง

- ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
- ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผล หรือวินิจฉัย
- สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
- จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตอย่างระบบ

- ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
- ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆช่วงวลายาวนานกว่า
- ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา ักคลินิก มักมุ้งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

การตราวจสอบ

- จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
-เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
- บอกได้ว่าเรื่องใดที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ


ข้อควรระวังในการปฏิบัติ

- ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
- ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
- พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต

- การนับอย่างง่ายๆ
- การบันทึกต่อเนื่อง
- การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

     การนับอย่างง่ายๆ

     - นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
     - กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
     - ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม

     การบันทึกอย่างต่อเนื่อง
     - ให้รายละเอียดได้มาก
     - เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
     - โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนะช่วยเหลือ

     
     การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
  
     - บันทึกลงบัตรเล็กๆ
     - เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน
     
     
     การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป

     - ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง
     - พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมสามารถพบได้ในเด็กทุกคนไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

  
   การตัดสินใจ

     - ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
     - พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่






วันนี้อาจารย์สอนร้องเพลง



ประเมิน

ตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน
เพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน หัวเราะกันในยามที่อาจารย์พูดเรื่องขบขัน
อาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย วันนี้อาจารย์มีเรื่องมาเล่าให้ฟังเยอะ อาจารย์เป็นคนใจดี น่ารัก









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น