วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์แบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 13 วันที่ 28 เมษายน 2558
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.
กิจกรรมแรก อาจารย์ให้เรียนตามชีทที่อาจารย์ให้ปริ้นมา
 โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)
แผน IEP
-แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
-เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
-ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
-โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
-คัดแยกเด็กพิเศษ
-ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
-เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
-แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
-ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
-รายงานทางการแพทย์
-รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
-ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
-จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย
-ระยะยาว
-กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
-น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
-น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
-น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
-ระยะสั้น
-ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
-เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
-จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

3. การใช้แผน
-เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
-นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
-แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
-ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
-ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
-อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4. การประเมินผล
-โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
-ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล

เมื่อเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้วอาจารย์ก็ให้เขียนแผนเป็นกลุ่ม





เขียนแผนเสร็จอาจารย์ก็ให้แต่ละคนออกไปจับฉลากแล้วร้องเพลงที่จับได้
ก่อนจะจากกันเทอมนี้เราก็ได้มาถ่ายรูปรวมกันทุกคน



ประเมิน

ตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรม
เพื่อน แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและร่วมกันทำกิจกรรม
อาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย อาจารย์มีกิจกรรมที่หลากหลายในการมาสอน อาจารย์เป็นคนใจดี อาจารย์จะทำให้นักศึกษายิ้มได้ทุกครั้ง



บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์แบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 12 วันที่ 20 เมษายน 2558
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.
กิจกรรมแรกก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้มีกิจกรรมสนุกๆมาให้นักศึกษาได้ผ่อนคลายยามบ่ายกัน เพื่อทีจะได้ไม่ง่วงนอนและมีสมาธิในการเรียนมากขึ้น 
เนื้อหาที่ได้เรียนวันนี้
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
-การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
-มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
-เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้
-พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
-อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
-ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
-จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
-เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
-เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
-คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว
ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น ตอบสนองอย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
-การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
-ต่อบล็อก
-ศิลปะ
-มุมบ้าน
-ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
-ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
-รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ความจำ
-จากการสนทนา
-เมื่อเช้าหนูทานอะไร
-แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
-จำตัวละครในนิทาน
-จำชื่อครู เพื่อน
-เล่นเกมทายของที่หายไป

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
-จัดกลุ่มเด็ก
-เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
-รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
-มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
-เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
-พูดในทางที่ดี
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
-ทำบทเรียนให้สนุก
ประเมิน


ประเมิน
ตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรม
เพื่อน แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและร่วมกันทำกิจกรรม
อาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย อาจารย์มีกิจกรรมที่หลากหลายในการมาสอน อาจารย์เป็นคนใจดี อาจารย์จะทำให้นักศึกษายิ้มได้ทุกครั้ง


บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์แบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 11 วันที่ 30 มีนาคม 2558
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากวันนี้อาจารย์บาสขอมาสอนในคาบนี้ค่ะ และอาจารย์เบียร์ใจดีก็เลยให้มาสอนในคาบนี้ค่ะ


บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์แบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 10 วันที่ 23 มีนาคม 2558
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน วันนี้อาจรย์ให้นักศึกษาสอบเก็บคะแนน 10คะแนน  เมื่อสอบเสร็จแล้วอาจารย์ก็คุยเรื่องต่างๆเกี่ยวกับการเรียนการสอน



ประเมิน
ตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรม
เพื่อน แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและร่วมกันทำกิจกรรม
อาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย  อาจารย์เป็นคนใจดี อาจารย์จะทำให้นักศึกษายิ้มได้ทุกครั้ง

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์แบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 9 วันที่ 16 มีนาคม 2558
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

วันนี้หนูไม่สบายจึงไม่สามารถไปเรียนได้


วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์แบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 8 วันที่ 9 มีนาคม 2558
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

วันนี้ก่อนเริ่มเข้าสู่การเรียนอาจารย์เบียร์ ได้นำกิจกรรมเล็กๆๆน้อยๆมาให้นักศึกษาทุกคนได้เล่นกัน

หลังจากที่ได้ดูรูปภาพแล้วอาจารย์ก็จะถาม ว่าเราเห็นภาพนี้เรารู้สึกอย่างไรบ้าง
ตอบ หนูตอบว่าน่ากลัวค่ะ


แล้วอาจารย์ก็ให้ร้องเพลงของสัปดาห์ที่แล้วค่ะ




ก่อนเริ่มเข้าเรื่องที่จะเรียนอาจารย์เบียร์ได้ให้ดูคลิปวีดีโอของโทรทัศน์ครู 
อนุบาลบ้านพลอยภูมิ


จากที่ได้ดู
จังหวะกาย จังหวะชีวิต
ด้านร่างกาย
-เด็กจะมีการเซบ้าง การเดิน การวิ่ง
ด้านอารมณ์
-น้องที่มีพัฒนาช้า น้องยังไม่พร้อม ดนตรีจะเข้ามาช่วยให้น้องมีความสนุกสนาน
ด้านสังคม
-เด็กที่มีพัฒนาช้า ต้องมีการรอคอย มีการฟัง
กิจกรรมที่บำบัด
1.การโยนรับลูกบอลกับบทเพลง
-จะช่วยพัฒนาให้ด้านกล้ามเนื้อ การกระโดด
2.การกระโดดตามจังหวะ เด็กจะต้องกะระยะให้ดี
3.กิจกรรมผึ้งหารัง
-ให้รู้จักการคิด การถ่ายทอดความรู้สึก
4.เพลงหอยโค่ง
-การใช้ข้อศอกวาดหอยโค่ง
-หัวไหล่
-หัวเข่า
เด็กๆทั้ง2คนต้องตกลงกันว่าใครจะใช้แขน ใครจะใช้หัวไหล่ หัวเข่า ในการวาด
กิจกรรมพวกนี้มันคือทักษะพื้นฐานทั้งเด็กปกติ และเด็กพิเศษ จะมีความภาคภูมิใจว่าทำได้ มีแรงบันดานใจ 
 เด็กพวกนี้จะสอนโดยบังเอิญ


วันนี้เรียนเรื่อง
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

2.ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
-เข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
-การพูดตกหล่น
-การใช้เสียงหนึางแทนอีกเสียง
-ติดอ่าง

การปฎิบัติของครูและผู้ใหญ่
-ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการพูดไม่ชัด
-ห้ามบอกเด็กว่า " พูดช้าๆ "" คิดก่อนพูด "" ตามสบาย "
-อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
-อยากเปลื่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
-ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับด็กคนอื่น
-เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
-ทักษะการรับรู้ภาษา 
-การแสดงออกทางภาษา
-การสื่อความหมายโดยไม่ใช่คำพูด

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-การรับรู้ภาษาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-ภาษาที่ไม่ใช้คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-ให้เวลาเด็กได้พูด
-คอยให้เด็กตอบ
-เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบฉับไว้
-เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเป็นอย่างเดียว
-ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
-กระตุ้นให้ด็กบอกความต้องการของตนเอง ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า
-เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
-ใช้คำถามปลายเปิด
-เด็กพิเศษรับรู้มากเท่ารัย ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
-ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

การสอนตามเหตุการณ์
คุณครูรู้เด็กต้องการอะไร ต้องให้เด็กเป็นคนขอความช่วยเหลือเอง หรือบอกบท


กิจกรรมสุดท้ายของวันนี้อาจารย์ให้จับคู่2คนกับกระดาษ1แผ่นแล้ว แล้วให้ลากเส้นตรงเท่านั้นตามเพลงห้ามยกสีขึ้นแล้วเพลงจบอาจารย์ก็ให้ละบายสีหลากสีที่มีช่องตัดกัน


นี้คือภาพของหนู คู่กับอังสุพรรณ เพียรขุนทด


ความรู้สึกที่มีต่อภาพ คือความเรียบง่าย อะไรก็ได้ ไม่โดดเด่น หรือ เป็นจุดด้อยจนเกินไป คือความพอดีง่ายๆๆ





ประเมิน
ตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรม
เพื่อน แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและร่วมกันทำกิจกรรม
อาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย อาจารย์มีกิจกรรมที่หลากหลายในการมาสอน อาจารย์เป็นคนใจดี อาจารย์จะทำให้นักศึกษายิ้มได้ทุกครั้ง